ความเป็นมา ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ

ปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำลำธารเพื่อขยายพื้นที่ทำกินของราษฎร และการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดอุทกภัย และภัยแล้ง ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน และปศุสัตว์ของเกษตรกรรุนแรงขึ้น เกิดวิกฤติขาดอาหารสัตว์ และเกิดโรคระบาดสัตว์ขึ้น ปัญหาเหล่านี้หน่วยงานราชการต้องรีบเข้าไปแก้ไขอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ฉะนั้นกรมปศุสัตว์จึงเตรียมความพร้อมด้านเสบียงสัตว์ไว้ล่วงหน้า โดยการผลิตทั้งหญ้าแห้ง หญ้าสด และหญ้าหมักไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถขอรับบริการได้โดยติดต่อผ่านทาง ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ และในกรณีที่เป็นพื้นที่เกิดภัยแล้งหรืออุทกภัยซ้ำซากเกษตรกรสามารถขอคำ ปรึกษาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ในการเก็บสำรองเสบียงสัตว์ไว้ใช้เองในยามขาดแคลน นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังมีกิจกรรมส่งเสริม กลุ่มเกษตรกร (กลุ่มนาหญ้า) ให้ผลิตเสบียงสัตว์ไว้จำหน่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อผลิตเสบียงสัตว์สำรองไว้ช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบภัยธรรมชาติ

2.เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงผลิตเสบียงสัตว์ไว้ใช้ในยามขาดแคลน

3.เพื่อส่งเสริมเกษตรกรผลิตเสบียงสัตว์จำหน่ายให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้เลี้ยงสัตว์

วิธีการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบภัยธรรมชาติ/เสบียงคงเหลือ

ในเบื้องต้นกรมปศุสัตว์จะจัดทำ แผนการจัดสรรและสำรองหญ้าแห้งช่วยเหลือภัยธรรมชาติ เพื่อจัดสรรโควต้าหญ้าแห้งให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์เขต ที่1-9 และคลังเสบียงสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นทางจังหวัดจะประกาศเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน เกษตรกรสามารถแจ้ง ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัด ขอรับแจกหญ้าแห้งได้ทันที และทางปศุสัตว์อำเภอจะออกสำรวจจำนวนสัตว์ที่ขาดแคลนอาหาร และพื้นที่ปลูกหญ้าของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถแจ้งให้ปศุสัตว์อำเภอได้ในช่วงนี้ เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ กชภอ. และ กชภจ. ตามลำดับต่อไป โดย ขออนุมัติเงินงบประมาณจาก เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของจังหวัด ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2552 แล้ว เบิกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งเสบียงสัตว์ ค่าอาหารสัตว์ ค่าเวชภัณฑ์ และค่าเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ หรือหน่อพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์มีหน้าที่จ่ายเสบียง สัตว์ตาม ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการแจกจ่ายพันธุ์พืชอาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ปีพ.ศ.2560

โครงการคลังเสบียงสัตว์ประจำตำบล  ประจำปีงบประมาณ  2566  (เป้าหมาย 2 แห่ง) แจ้ง 27 มีนาคม 2566