ข่าวประชาสัมพันธ์

คำถาม  Smart Farmer หมายถึงอะไร

คำตอบ  Smart Farmer หมายถึง เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ตามรายชนิดสัตว์แต่ละสาขา ตามยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์  ได้แก่  โคเนิ้อ  กระบือ  โคนม  สุกร  แพะ-แกะ  สัตว์ปีกที่เลี้ยงระบบฟาร์ม  และไก่พื้นเมืองและเป็ดไล่ทุ่ง  โดยมีคุณสมบัติ ครบ 6 ข้อ ตัวบ่งชี้อย่างน้อย 1 ข้อ ในแต่ละคุณสมบัติ และมีรายได้ไม่น้อยกว่า 180,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี

คำถาม  Smart Farmer สามารถจำแนกได้เป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง

คำตอบ  จำแนกเป็น 3 ระดับ  ดังนี้

         1.  Smart Farmer ต้นแบบ  คือ  เกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้านรายได้และคุณสมบัติพื้นฐานครบทั้ง 6 ข้อ  โดยผ่านตัวบ่งชี้ครบทุกข้อ

         2.  Existing Smart Farmer  คือ  เกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้านรายได้และคุณสมบัติพื้นฐานครบ 6 ข้อ  โดยผ่านตัวบ่งชี้อย่างน้อย 1 ตัวในแต่ละคุณสมบัติ

         3.  Developing Smart Farmer  คือ  เกษตรกรที่ขาดคุณสมบัติด้านรายได้และด้านคุณสมบัติพื้นฐานไม่ครบ 6 ข้อ

คำถาม  รายละเอียดคุณสมบัติและตัวบ่งชี้ของ Smart Farmer

คำตอบ 

คุณสมบัติ ตัวบ่งชี้
1. มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่

1.1 สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือให้คำปรึกษากับ

ผู้อื่นได้

1.2 สามารถเป็นเกษตรกรต้นแบบหรือจุดเรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้

2. มีข้อมูลประกอบการตัดสิน

ใจในระบบการผลิตและการตลาด

2.1 สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่และผ่านทางระบบ

สารสนเทศ  และการสื่อสารอื่นๆ เช่น Internet  Mobile Phone 

Smart Phone เป็นต้น

2.2 มีการบันทึกข้อมูลและใช้ข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์วางแผน

ก่อนเริ่มดำเนินการและบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความ

ต้องการของตลาด

2.3 มีการนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพของตนเอง

 3. มีการบริหารจัดการผลผลิต

และการตลาด

  

3.1 มีความสามารถในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต แรงงาน

และทุน ฯลฯ

3.2 มีความสามารถในการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขาย

ผลผลิตได้

3.3 มีการจัดการของเหลือจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Zero waste management)

 4. มีความตระหนักถึงคุณภาพ

สินค้าและความปลอดภัยของ

ผู้บริโภค

 

 4.1 มีความรู้หรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP GMP

เกษตรกรอินทรีย์  หรือมาตรฐานอื่นๆ

 4.2 มีกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐาน GAP GMP

เกษตรกรอินทรีย์  หรือมาตรฐานอื่นๆ

 5. มีความรับผิดชอบต่อ

สิ่งแวดล้อม/สังคม

 

 5.1 มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และไม่ทำลาย

สิ่งแวดล้อม (Green Economy)

 5.2 มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง

 6. มีความภูมิใจในความเป็น

เกษตรกร

  
 6.1 มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร
 6.2 รักและหวงแหนพื้นที่และอาชีพทางการเกษตรไว้ให้รุ่นต่อไป
 6.3 มีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพการปศุสัตว์